จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (ผ่าตัดกราม) ราคาเท่าไร? ที่ไหนดี?

จัดฟัน ผ่าตัด

ค่าใช้จ่ายจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรที่ CDC Dental

ค่าใช้จ่ายในการทำจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรที่ CDC Dental แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้:

ส่วนที่ 1: แพ็คเกจตรวจวินิจฉัย - 3,000 บาท

  • เป็นการทำประวัติก่อนการรักษา ประกอบด้วย การตรวจประเมินเบื้องต้นอย่างละเอียด, X-ray, ถ่ายภาพทางทันตกรรม, สแกนฟันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ค่าใช้จ่ายที่อาจมีเพิ่มเติม:

  • สแกน CBCT ที่โรงพยาบาล - ประมาณ 4,500 บาท (ไม่รวมในแพ็คเกจ)
  • ตรวจการนอนหลับ (Sleep test) ที่โรงพยาบาลเอกชน (หากจำเป็น) - ประมาณ 10,000-15,000 บาท (ไม่รวมในแพ็คเกจ)

ส่วนที่ 2: ค่าจัดฟัน - 78,000 บาท

  • สองเดือนแรก 15,000 บาท x 2 เดือน
  • หลังจากนั้นแบ่งชำระเดือนละ 3,000 บาท x 16 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายส่วนนี้แบ่งชำระเป็นงวดๆ กับทางคลินิก

ส่วนที่ 3: ค่าผ่าตัดขากรรไกร - 250,000-300,000 บาท

ค่าผ่าตัดขากรรไกรที่โรงพยาบาล โดย อาจารย์ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล:

  • ผ่าตัดขากรรไกรเดียว: 150,000 - 200,000 บาท
  • ผ่าตัดทั้งขากรรไกรบนและล่าง: 250,000 - 300,000 บาท
  • ผ่าตัดคาง (เพิ่มเติม): 50,000 - 70,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ชำระครั้งเดียว

ค่าใช้จ่ายส่วนนี้รวมถึง:

  • ค่าห้องผ่าตัด (โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, หรือโรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ)
  • ค่าแพทย์ผ่าตัด
  • ค่าวิสัญญีแพทย์ (ดมยา)
  • ค่าพักฟื้นในโรงพยาบาล (1-3 คืน)
  • ค่าดูแลหลังผ่าตัด

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ: 231,000-381,000 บาท

ผ่าตัดขากรรไกร ราคา

ปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟัน

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรคืออะไร ทำไมต้อง "ผ่ากราม"?

จัดฟันผ่าตัดขากรรไกร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ผ่ากราม" (Orthognathic Surgery) เป็นการรักษาที่ทางทันตกรรมจัดฟันและการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างใบหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติอย่างรุนแรง

"สำหรับผู้ที่มีปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติรุนแรงมาก จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟันอย่างเดียว การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร คือทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด"

การรักษานี้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ช่องปากและขากรรไกร

จัดฟันธรรมดากับจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรต่างกันอย่างไร?

การจัดฟันทั่วไปเน้นการเคลื่อนฟันให้เข้าที่ แต่ไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติได้ ขณะที่ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร สามารถแก้ไขทั้งตำแหน่งฟันและโครงสร้างกระดูกขากรรไกร

เปรียบเทียบจัดฟัน ผ่าตัด

สนใจจัดฟันแบบผ่าตัด ทักแชทได้เลย

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

ทำไมถึงต้องทำจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร

ปัญหาที่มักนำไปสู่การผ่าตัดขากรรไกรมีดังนี้:

ทำไมต้องจัดฟันผ่าตัด

ปัญหาโครงสร้างกระดูกขากรรไกร

  • คางยื่นหรือขากรรไกรล่างยื่น
  • คางสั้นหรือขากรรไกรล่างเล็ก
  • ขากรรไกรบนยื่น ทำให้ริมฝีปากบนเต่ง
  • การสบฟันเปิด (กัดฟันแล้วฟันหน้าไม่สบกัน)
  • การสบฟันลึก (ฟันบนคร่อมฟันล่างมากเกินไป)
  • ใบหน้าไม่สมมาตร คางเบี้ยว

ปัญหาการหายใจ

  • ทางเดินหายใจแคบเพราะโครงสร้างขากรรไกรผิดปกติ
  • หยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
  • กรนเสียงดัง

ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน

  • พูดลำบาก ออกเสียงบางคำไม่ชัด
  • เคี้ยวอาหารได้ไม่ดี

ผลกระทบต่อจิตใจ

  • ขาดความมั่นใจเพราะใบหน้าผิดรูป
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม ถ่ายรูป
  • ถูกล้อเลียนจากลักษณะใบหน้า

เกินขีดจำกัดของการจัดฟันธรรมดา

  • ปัญหาซับซ้อนเกินกว่าการจัดฟันอย่างเดียวจะแก้ไขได้
  • ไม่สามารถแก้ไขกระดูกที่ผิดปกติด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว

ข้อจำกัดในการจัดฟัน

ปัญหาแบบไหนที่ต้องผ่าตัดขากรรไกร - ตัวอย่างที่พบบ่อยในไทย

คางยื่น หรือขากรรไกรล่างยื่น
คางยื่น ผ่าตัด

ลักษณะ: คางยื่นออกมาด้านหน้า ฟันล่างอยู่หน้าฟันบน ใบหน้าส่วนล่างดูยาว

วิธีแก้ไข: ตัดกระดูกขากรรไกรล่างและเลื่อนถอยหลัง มักต้องทำร่วมกับเลื่อนขากรรไกรบนออกมาด้านหน้าด้วย

คางสั้น หรือขากรรไกรล่างเล็ก
คางสั้น ผ่าตัด

ลักษณะ: ฟันบนยื่น ริมฝีปากบนเต่ง โครงหน้าด้านข้างโค้งนูน

วิธีแก้ไข: เลื่อนขากรรไกรล่างมาด้านหน้าเพื่อสร้างความสมดุลให้ใบหน้า

ฟันสบเปิด (เคี้ยวอาหารลำบาก)
ฟันสบเปิด ผ่าตัด

ลักษณะ: มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าบนและล่างเมื่อกัดฟัน

วิธีแก้ไข: จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรจะให้ผลลัพธ์ที่มั่นคงกว่าการจัดฟันเพียงอย่างเดียว

ใบหน้าไม่สมมาตร (หน้าเบี้ยว)
หน้าเบี้ยว ผ่าตัด

ลักษณะ: ใบหน้าซีกซ้ายและขวาไม่เท่ากัน คางเบี้ยว การสบฟันผิดปกติ

วิธีแก้ไข: ใช้เทคโนโลยี 3D วางแผนการผ่าตัดปรับแต่งกระดูกให้สมมาตร

ยิ้มเห็นเหงือกมาก
ยิ้มเห็นเหงือก ผ่าตัด

ลักษณะ: เห็นเหงือกมากเกินไปเวลายิ้ม (มากกว่า 3-4 มม.)

วิธีแก้ไข: ตัดกระดูกขากรรไกรบนและเลื่อนขึ้นด้านบน

ส่งรูปเพื่อปรึกษาจัดฟันแบบผ่าตัดได้เลย

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

ขั้นตอนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรที่ CDC Dental มีอะไรบ้าง?

ขั้นตอนที่ 1: ตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา

  • ตรวจประเมินแบบละเอียดโดยทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน
  • ถ่าย X-ray ภาพถ่าย และสแกนฟัน ราคาแพ็คเกจ 3,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2: พบศัลยแพทย์เพื่อวางแผนผ่าตัด

  • พบอาจารย์ศัลยแพทย์ขากรรไกรที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจโครงหน้าและคุยรายละเอียดการผ่าตัด

ขั้นตอนที่ 3: ถ่ายภาพรังสี 3 มิติ

  • สแกน CBCT (X-ray สามมิติ) ที่โรงพยาบาล (ค่าใช้จ่ายประมาณ 4,500 บาท)
  • บางรายอาจต้องทำ bone scan เพื่อดูการละลายของกระดูกขากรรไกร โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะหน้าเบี้ยว มักพบภาวะกระดูกขากรรไกรละลายผิดปกติ เพราะถ้าผ่าตัดในช่วงที่กระดูกยังละลายอยู่ ผลการรักษาอาจไม่มั่นคง

ขั้นตอนที่ 4: เริ่มจัดฟัน

การจัดฟันก่อนผ่าตัดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเรียงฟันให้อยู่กลางกระดูกขากรรไกร ดังนั้นการสบฟันอาจแย่ลงชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา ขั้นตอนนี้มักใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน

ข้อควรรู้: ช่วงนี้อาจเป็นช่วงที่ท้าทายสำหรับผู้ป่วย เพราะการสบฟันและลักษณะใบหน้าอาจดูแย่ลงชั่วคราว แต่เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีหลังการผ่าตัด

ขั้นตอนที่ 5: ผ่าตัดขากรรไกร

  • เมื่อคุณหมอจัดฟันเห็นว่าฟันเรียงพร้อมผ่าตัดแล้ว จะส่งคนไข้ไปเข้ากระบวนการผ่าตัด  โดยทั่วไปการผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 4-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อน
  • ผ่าตัดโดยอาจารย์ศัลยแพทย์ช่องปากและขากรรไกรที่โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล หรือโรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ

หลังการผ่าตัด:

  • ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 1-3 คืน
  • มีอาการบวมและช้ำที่มีแนวโน้มลดลงใน 2-3 สัปดาห์
  • ต้องรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์

ขั้นตอนที่ 6: จัดฟันต่อหลังผ่าตัด

  • จัดฟันต่ออีกประมาณ 6-12 เดือนหลังผ่าตัด ช่วงเวลานี้เป็นนาทีทองในการเคลื่อนฟันเพราะฟันจะเคลื่อนเร็วมากๆหลังผ่าตัดเสร็จ คุณหมอจัดฟันอาจจะนัดคนไข้ถี่ขึ้นในช่วงแรกๆหลังผ่าตัดเสร็จ วัตถุประสงค์ของการจัดฟันในช่วงนี้เพื่อปรับละเอียดให้การสบฟันสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 7: ใส่รีเทนเนอร์

เมื่อการจัดฟันเสร็จสิ้น ขั้นตอนสุดท้ายคือการใส่รีเทนเนอร์ (เครื่องมือคงสภาพฟัน) เพื่อรักษาตำแหน่งของฟันไม่ให้กลับไปผิดปกติ

ปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟัน

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

ผ่าตัดก่อนจัดฟัน (Surgery First) - นวัตกรรมที่ช่วยให้เห็นผลเร็วขึ้น

CDC Dental มีทางเลือกเทคนิค "ผ่าตัดก่อนจัดฟัน" สำหรับผู้ที่เหมาะสม เทคนิคนี้คือการผ่าตัดขากรรไกรก่อนหรือหลังจากเริ่มจัดฟันไม่นาน (ประมาณ 1-2 เดือน) ทำให้คนไข้เห็นการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าได้เร็ว ไม่ต้องรอจัดฟันนานก่อนผ่าตัด

ข้อดีของเทคนิคนี้ ได้แก่:

  • เห็นผลลัพธ์เร็วกว่า
  • ใช้เวลารักษาโดยรวมน้อยลง (ประหยัดเวลาได้ 6-12 เดือน)
  • ลดผลกระทบทางจิตใจ ลดช่วงเวลาที่การสบฟันดูแย่ลงนานๆ
  • ฟันเคลื่อนเร็วขึ้นหลังผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ต้องอาศัยการวางแผนที่ซับซ้อนและไม่เหมาะกับทุกคน ต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสม

ผ่าตัดก่อนจัดฟัน

รีวิวเคส จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

ปรับโครงหน้าสมดุล และแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร

การรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใบหน้าได้อย่างมาก โดยให้ผลลัพธ์ดังนี้:

  • แก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกร ทำให้ใบหน้ามีสัดส่วนที่สมดุล
  • ปรับแนวขากรรไกรให้สมมาตร แก้ไขปัญหาใบหน้าเบี้ยว
  • ปรับโครงหน้าด้านข้าง (Profile) ให้สวยงามตามหลักสัดส่วนที่เหมาะสม
  • แก้ไขปัญหายิ้มไม่เห็นฟันบน

หลังการรักษา ผู้ป่วยจะมีโครงสร้างใบหน้าที่สมดุลและสวยงามตามธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ไม่สามารถทำได้ด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว

รีวิวจัดฟัน ผ่าตัดรีวิวจัดฟัน ผ่าตัด คางยื่น

ปรับปรุงการสบฟันและช่วยให้เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น

จัดฟัน ผ่าตัด รีวิวรีวิวผ่ากราม

นอกจากประโยชน์ด้านความสวยงามแล้ว การรักษานี้ยังช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบบดเคี้ยวอย่างมาก:

  • แก้ไขการสบฟันผิดปกติ ทำให้ฟันบนและล่างสบกันได้อย่างเหมาะสม
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร
  • ลดการสึกของฟันที่ผิดปกติจากการสบฟันที่ไม่ถูกต้อง

ผู้ป่วยหลายรายรายงานว่าสามารถเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้นอย่างมาก และรู้สึกสบายขึ้นเวลาบดเคี้ยว

ปรึกษาผ่าตัดขากรรไกร กับทีมคุณหมอเฉพาะทาง

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

ทำไมต้องเลือก CDC Dental และจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรที่มหิดล?

จัดฟัน ผ่าตัด ราคา

CDC Dental ให้บริการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรครบวงจร โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้คุณได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงและมีประสบการณ์

ทีมแพทย์มืออาชีพ

  • ทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง
  • อธิบายแผนการรักษาอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย
  • ทีมเจ้าหน้าที่บริการด้วยความใส่ใจ เข้าใจความกังวลของคุณ

หมอเฉพาะทางจัดฟัน

เทคโนโลยีทันสมัย

  • แผนการรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล
  • มาตรฐานการรักษาระดับสากล

เทคโนโลยีจัดฟัน

สถานที่ตั้งสะดวก

  • CDC Dental สาขาจตุจักร ใกล้ BTS สะพานควาย
  • CDC Dental สาขาลาดพร้าว 109 ใกล้เดอะมอลล์บางกะปิ, MRT ลาดพร้าว 101

ปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟัน

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

ผ่าตัดขากรรไกรอันตรายไหม? - ความจริงที่คุณควรรู้

หลายคนกังวลว่าการผ่าตัดขากรรไกรอันตรายหรือไม่ การผ่าตัดขากรรไกรมีความเสี่ยงเหมือนการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป เช่น การติดเชื้อ เลือดออก ชาบริเวณริมฝีปากหรือคาง และความเสี่ยงจากการดมยาสลบ

แต่เมื่อทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม มีมาตรฐาน และมีการวางแผนอย่างรอบคอบ พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงพบได้น้อยมาก คนไข้ส่วนใหญ่บอกว่าประสบการณ์ดีกว่าที่กังวลไว้มาก และผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงและความไม่สบายในช่วงแรก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดขากรรไกร

  1. ผ่าตัดขากรรไกรเจ็บมากไหม? ระหว่างผ่าตัดคุณจะได้รับการดมยาสลบจึงไม่รู้สึกเจ็บ หลังผ่าตัดจะมีอาการปวดบวมที่ควบคุมได้ด้วยยาแก้ปวด ช่วง 1-3 วันแรกจะปวดมากที่สุด แล้วค่อยๆ ดีขึ้น คนส่วนใหญ่บอกว่าเจ็บน้อยกว่าที่คิดไว้
  2. ต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะเห็นผลลัพธ์สมบูรณ์? การรักษาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 18-36 เดือน แล้วแต่ความซับซ้อนของแต่ละคน แต่คุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าทันทีหลังผ่าตัดเมื่ออาการบวมลดลง การปรับตัวของเนื้อเยื่ออ่อนและการหายบวมสมบูรณ์อาจใช้เวลา 6-12 เดือน
  3. จะกินอาหารได้ปกติเมื่อไหร่หลังผ่าตัด? ช่วงแรกต้องกินอาหารเหลวประมาณ 1-2 สัปดาห์ ตามด้วยอาหารบดละเอียด 2-3 สัปดาห์ และอาหารนิ่มในช่วง 4-6 สัปดาห์ คุณจะกลับมากินอาหารได้เกือบปกติหลังจาก 8-12 สัปดาห์ แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็งมากๆ จนกว่าจะหายสนิท (ประมาณ 4-6 เดือน)
  4. การผ่าตัดขากรรไกรจะมีแผลเป็นที่เห็นได้ชัดไหม? การผ่าตัดขากรรไกรส่วนใหญ่ทำผ่านทางช่องปาก จึงไม่มีแผลเป็นภายนอกที่มองเห็นได้ บางกรณีที่ต้องผ่าตัดคางอาจมีแผลขนาดเล็กใต้คาง (ประมาณ 1-2 ซม.) แต่มักมองไม่เห็นชัดเมื่อหายสนิท เพราะซ่อนอยู่ใต้เงาของคาง
  5. จัดฟันธรรมดากับจัดฟันร่วมกับผ่าตัดต่างกันอย่างไร? ถ้าปัญหาฟันและใบหน้าไม่รุนแรงมาก การจัดฟันธรรมดาอาจเพียงพอ แต่ถ้ามีปัญหาโครงสร้างกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติมาก จัดฟันอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ คุณหมอจัดฟันจะประเมินและแนะนำวิธีที่เหมาะสมที่สุดให้คุณ
  6. ถ้าควรผ่าตัดแต่เลือกจัดฟันอย่างเดียวจะเกิดอะไรขึ้น? อาจเกิดปัญหาดังนี้:
    • ผลลัพธ์ไม่สวยเท่าที่ควร
    • ปัญหาการสบฟันยังอยู่ ทำให้ฟันสึกผิดปกติ
    • เสี่ยงต่อเหงือกร่น หรือรากฟันโผล่
    • ปัญหาการพูดและการหายใจไม่ได้รับการแก้ไข
    • ผลการรักษาอาจไม่เสถียร มีโอกาสกลับมาผิดปกติได้สูง

สรุป

การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาโครงสร้างขากรรไกรและการสบฟันที่รุนแรง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟันธรรมดา แม้จะเป็นการรักษาที่ซับซ้อน ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ทั้งด้านการทำงานและความสวยงามคุ้มค่ากับการลงทุน

การตัดสินใจเลือกการรักษานี้ควรเริ่มจากการปรึกษาทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ขากรรไกรที่มีประสบการณ์ เพื่อประเมินความเหมาะสมและวางแผนการรักษาที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล

ประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษา:

  • ปรับปรุงการทำงานของระบบบดเคี้ยว
  • แก้ไขปัญหาการพูดและการหายใจ
  • ปรับปรุงความสวยงามของใบหน้าและรอยยิ้ม
  • เพิ่มความมั่นใจและคุณภาพชีวิต

หากคุณกำลังพิจารณาการรักษานี้ CDC Dental พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณตลอดกระบวนการรักษา ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้คุณมั่นใจในผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ติดต่อเรา

LINE @BangkokDentist Facebook CDC Dental

สาขาศูนย์ทันตกรรมจตุจักร BTS สะพานควาย, ใกล้ จตุจักร อารีย์ พหลโยธิน ประดิพัทธ์ สุทธิสาร ตลาดนัด อตก.

โทร: 097-925-2424

Google Maps - ศูนย์ทันตกรรมจตุจักร

สาขาลาดพร้าว 109 (ปริญญาทันตคลินิก เดิม) ใกล้ บางกะปิ ลาดพร้าว 109, ลาดพร้าว 107, ลาดพร้าว 101, RBAC, รามคำแหง
โทร: 097-925-2442

Google Maps - สาขาลาดพร้าว 109

อ้างอิง

  1. Proffit WR, White RP, Sarver DM. Contemporary treatment of dentofacial deformity. St. Louis: Mosby; 2013.
  2. Hasebe D, Kobayashi T, Hasegawa M, Iwamoto T, Kato K, Izumi N, Takata Y, Saito C. Changes in oropharyngeal airway and respiratory function during sleep after orthognathic surgery in patients with mandibular prognathism. Int J Oral Maxillofac Surg. 2011 Jun;40(6):584-92.
  3. Bergamo AZ, Andrucioli MC, Romano FL, Ferreira JT, Matsumoto MA. Orthodontic-surgical treatment of Class III malocclusion with mandibular asymmetry. Braz Dent J. 2011;22(2):151-6.
  4. Brandtner C, Hachleitner J, Rippel C, Krenkel C, Gaggl A. Long-term skeletal and dental stability after orthognathic surgery of the maxillo-mandibular complex in Class II patients with transverse discrepancies. J Craniomaxillofac Surg. 2015 Oct;43(8):1516-21.
  5. Choi JW, Lee JY. Current concept of the surgery-first orthognathic approach. Arch Plast Surg. 2021 Mar;48(2):199-207.
ทพ.ปิติภัทร ทั้งสุข
บทความโดย

ทพ.ปิติภัทร ทั้งสุข (หมอแจม)

เฉพาะทางทันตกรรมจัดฟัน