ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMJ Disorder) | ปวดขากรรไกร นอนกัดฟัน ต้องดูแลอย่างไร?


เรียบเรียงโดย ทพญ.ไอริณ ลักษมีกีรติกุล
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า

หมอบดเคี้ยว
ข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint – TMJ) เป็นข้อต่อที่มีความซับซ้อนและมีการใช้งานตลอดเวลา เช่น การพูด เคี้ยว หรืออ้าปาก หากเกิดความผิดปกติอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อดังกล่าว ทำให้มีอาการเจ็บปวด เคลื่อนไหวลำบาก หรือเกิดเสียงขณะขยับขากรรไกร ซึ่งเรียกรวมกันว่า ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรหรือ TMJ Disorder (TMD) การรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ศูนย์ทันตกรรม CDC Dental ให้การรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยว

อาการที่บ่งบอกถึงปัญหาข้อต่อขากรรไกร


ผู้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกรมักพบอาการต่าง ๆ เช่น:

  • ปวดบริเวณใบหน้า ขมับ หรือหน้าหู โดยเฉพาะเวลาเคี้ยวหรือขยับขากรรไกร
  • อ้าปากได้จำกัด หรือมีอาการอ้าปากแล้วค้าง ขากรรไกรเบี้ยว หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • มีเสียงคลิกหรือเสียงกรอบแกรบ ขณะเคลื่อนขากรรไกร อาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย

ปวดข้อต่อขากรรไกร

สาเหตุของ TMJ Disorder


สาเหตุที่อาจนำไปสู่ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร มีได้หลายปัจจัย เช่น:

  1. การบาดเจ็บบริเวณกรามหรือใบหน้า
  2. การสบฟันที่ไม่เหมาะสม หรือฟันที่หายไปโดยไม่มีการใส่ฟันทดแทน
  3. พฤติกรรมเคี้ยวอาหารข้างเดียว
  4. การรับประทานอาหารแข็ง เหนียว หรือเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ
  5. ความเครียดสะสม ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามหดเกร็ง
  6. นอนกัดฟัน หรือมีพฤติกรรมกัดเค้นฟันในเวลากลางวัน

 

แนวทางดูแลตัวเองเมื่อมีอาการข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ


หากเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรปฏิบัติดังนี้เพื่อบรรเทาอาการ:

  • ประคบร้อนบริเวณขากรรไกร ใบหน้า คอ หรือบ่า เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • รับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงของแข็งหรือเหนียว
  • ลดการใช้งานขากรรไกร เช่น หลีกเลี่ยงการพูดมาก ตะโกน หรือร้องเพลง
  • แจ้งทันตแพทย์หากจำเป็นต้องรับการรักษาฟัน
  • ฝึกคลายกล้ามเนื้อ โดยไม่เกร็งใบหน้า ขากรรไกร หรือคอ
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีน เช่น กาแฟหรือชา ที่อาจกระตุ้นการกัดฟัน
  • ลดการนั่งทำงานหรือจ้องคอมนานเกินไป
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • นอนหลับให้เพียงพอทุกวัน

 

คำแนะนำจากคุณหมอ


หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางด้านข้อต่อขากรรไกร เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เช่น การทำเฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) หรือการกายภาพร่วมกับการปรับพฤติกรรม

 

เฝือกสบฟัน คืออะไร? ช่วยแก้ปัญหาอย่างไร?


คุณสมบัติของเฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เป็นอุปกรณ์ทันตกรรมพิเศษที่:

  • ทำจากอะคริลิกแข็ง (Hard Splint) คุณภาพสูง
  • ถอดได้ ใส่เฉพาะเวลานอนหรือตามแพทย์แนะนำ
  • ออกแบบเฉพาะบุคคล ตามรูปทรงฟันของผู้ป่วย

การทำงานของเฝือกสบฟัน

  • ปรับการสบฟัน ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ลดแรงบดเคี้ยว ที่กระทำต่อฟันและข้อต่อ
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ขากรรไกรและใบหน้า
  • ป้องกันฟันสึก จากการกัดฟันขณะนอน

ใครควรใช้เฝือกสบฟัน?

  • นอนกัดฟัน มีเสียงกัดฟันดัง
  • ปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว เมื่อตื่นนอน
  • ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ มีเสียงคลิก
  • ฟันสึกหรือแตก จากแรงบดเคี้ยวมากเกินไป
  • ปวดศีรษะตอนเช้า อาจเกิดจากกัดฟัน

เฝือกสบฟัน

 

ทำไมต้องเลือก CDC Dental?


  • ศูนย์ทันตกรรม CDC Dental มีคุณหมอเฉพาะทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวจากสถาบันชั้นนำ
  • ตั้งอยู่ในทำเลสะดวก:
    • CDC Dental สาขาสะพานควาย ใกล้ BTS สะพานควาย
    • CDC Dental สาขาลาดพร้าว 109 ใกล้บางกะปิ รามคำแหง ลาดพร้าว

 

ค่ารักษาด้านทันตกรรมบดเคี้ยว


1. การตรวจปรึกษา

  • ค่าบริการ: 1,200 บาท
    (ตรวจ ซักประวัติ ตรวจการบดเคี้ยวเบื้องต้น และวางแผนการรักษา)

2. ทำเฝือกสบฟัน (Occlusal Splint)

  • ค่าบริการ: 8,000 บาท
    (พิมพ์ฟัน ใส่เฝือก และตรวจเช็คครั้งแรก เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกัดฟัน ปวดขากรรไกร หรือปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว)

3. การติดตามผล

  • ค่าบริการ: 1,200 บาท/ครั้ง
    (ควรตรวจติดตามทุก 6 เดือน เพื่อประเมินผลการรักษาและปรับแผนหากจำเป็น)

 

นัดหมายปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางข้อต่อขากรรไกร


 

สาขาสะพานควาย


(ศูนย์ทันตกรรมจตุจักร)

BTS สะพานควาย, ใกล้ จตุจักร อารีย์ พหลโยธิน ประดิพัทธ์ สุทธิสาร ตลาดนัด อตก.

โทร 097-925-2424

Google Maps - ศูนย์ทันตกรรมจตุจักร

สาขาลาดพร้าว 109


(ปริญญาทันตคลินิก เดิม)

ใกล้ บางกะปิ ลาดพร้าว 109, ลาดพร้าว 107, ลาดพร้าว 101, RBAC, รามคำแหง

โทร 097-925-2442

Google Maps - สาขาลาดพร้าว 109

 

 

ที่มาของข้อมูล


Schiffman, Eric et al. “Diagnostic Criteria for Temporomandibular Disorders (DC/TMD) for Clinical and Research Applications: recommendations of the International RDC/TMD Consortium Network and Orofacial Pain Special Interest Group.” Journal of oral & facial pain and headache vol. 28,1 (2014): 6-27. doi:10.11607/jop.1151

ทพญ.ไอริณ ลักษมีกีรติกุล
บทความโดย

ทพญ.ไอริณ ลักษมีกีรติกุล (หมออาย)

ทันตกรรมบดเคี้ยว