เฝือกสบฟัน: ทางออกของคนนอนกัดฟัน


เรียบเรียงโดย ทพญ.ไอริณ ลักษมีกีรติกุล
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า

นอนกัดฟัน เฝือกสบฟัน

นอนกัดฟัน (Bruxism) คืออะไร?


การนอนกัดฟัน (Bruxism) คือพฤติกรรมการกัดฟัน ขบฟัน หรือบดฟันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะหลับ หรือ ตอนตื่น สาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือแม้แต่ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

แม้หลายคนอาจกัดฟันเป็นครั้งคราวในช่วงที่เครียด แต่หากเป็นบ่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดกราม ฟันสึก หรือความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMJ)

ภาวะนี้พบได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบได้บ่อยใน เด็ก วัยรุ่น และวัยทำงานตอนต้น โดยเฉพาะในช่วงนอนหลับ

นอนกัดฟัน ฟันสึก

นอนกัดฟัน มีอาการอย่างไร


อาการที่มักพบในรายที่นอนกัดฟัน มักเป็นอาการที่เกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular disorders, TMD)

  • ปวดกรามหรือตึงกล้ามเนื้อใบหน้า โดยเฉพาะตอนตื่นนอน เป็น
  • ปวดศีรษะบริเวณขมับ
  • รู้สึกเจ็บหรือเมื่อยขากรรไกร
  • ปวดหู หรือรู้สึกเสียงในหู (Tinnitus)
  • อ้าปากหรือเคี้ยวอาหารลำบาก
  • ฟันสึก แตก หรือวัสดุอุดฟันหลุดง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน

ปวดข้อต่อขากรรไกร

ประเภทของการกัดฟัน


กัดฟันขณะหลับ (Sleep Bruxism)

เกิดโดยไม่รู้ตัว มักต้องใช้เฝือกสบฟันในการป้องกันฟันสึก และลดแรงที่กระทำต่อกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

กัดฟันตอนตื่น (Awake Bruxism)

มักเกิดขึ้นโดยรู้ตัว เช่น เวลาเครียด กังวล หรือใช้สมาธิจดจ่อ สามารถควบคุมได้ถ้าหากรู้ตัวว่ากำลังกัดเค้นฟันอยู่

สาเหตุของการนอนกัดฟัน


ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการนอนกัดฟันได้อย่างชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น:

  • ความเครียดและวิตกกังวล
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต: ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ คาเฟอีน
  • ยาบางชนิด: โดยเฉพาะกลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่รักษา


การวินิจฉัยนอนกัดฟัน


ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยจากการตรวจช่องปากและซักประวัติ, การใส่เฝือกสบฟันก็เป็นหนึ่งในวิธีที่คุณหมอเฉพาะทางใช้ในการวินิจฉัยว่าคุณมีภาวะนอนกัดฟันหรือไม่ (กรณีนอนกัดฟันจะพบรอยสึกที่เฝือกสบฟัน)

นอนกัดฟัน รักษาอย่างไร


หากอาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่ในรายที่มีอาการมาก (เช่นฟันสึก หรือมีอาการของข้อต่อขากรรไกร) ทันตแพทย์อาจแนะนำ

  • เฝือกสบฟันเฉพาะบุคคล: สวมตอนนอน ช่วยลดแรงบดฟัน และลดอาการปวดขากรรไกร
  • เทคนิคการลดความเครียด: เช่น ฝึกสมาธิ ออกกำลังกาย หรือทำจิตบำบัด
  • ปรับพฤติกรรม: ลดกาแฟ แอลกอฮอล์ และหยุดสูบบุหรี่
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ: ใช้ก่อนนอนเป็นระยะสั้น
  • โบท็อกซ์ (Botox): ใช้ในรายที่อาการรุนแรงมาก เพื่อลดแรงบดของกล้ามเนื้อกราม (ต้องฉีดซ้ำทุก 3–4 เดือน)

*ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หยุดนอนกัดฟันได้ โดยแนวทางการรักษาคือลดแรงที่กระทำต่อระบบบดเคี้ยวและลดฟันสึกโดยการใช้เฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟัน นอนกัดฟัน


เฝือกสบฟัน (Night Guard หรือ Occlusal Splint) เป็นอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อสวมขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันฟันสึกจากการนอนกัดฟันและลดอาการปวดขากรรไกร เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะนอนกัดฟัน

เฝือกสบฟันมีกี่แบบ

เฝือกสบฟันแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะการใช้งานและวัสดุที่ใช้ โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก: 

1. เฝือกสบฟันแบบนิ่ม (Soft Night Guard)

  1. ผลิตจากวัสดุยืดหยุ่น สวมใส่สบาย เหมาะกับผู้ที่มีการกัดฟันไม่รุนแรง
  2. มักใช้ชั่วคราว หรือในผู้ที่มีอาการไม่ถาวร

เฝือกสบฟันแบบอ่อน

2. เฝือกสบฟันแบบแข็ง (Hard Night Guard)

  1. ทำจากวัสดุอะคริลิกแข็ง มีความทนทานสูง
  2. เหมาะกับผู้ที่มีการบดเคี้ยวหรือกัดฟันแรง และใช้ในระยะยาว

เฝือกสบฟันแบบแข็ง

เฝือกสบฟัน ราคา

ราคาของเฝือกสบฟันขึ้นอยู่กับประเภทวัสดุ โดยที่ CDC Dental มีค่ารักษาดังนี้

  • เฝือกสบฟันแบบนิ่ม: ราคา 3,500 บาท ใช้เวลาผลิต 1 วัน
  • เฝือกสบฟันแบบแข็ง: ราคา 8,000 บาท ใช้เวลาผลิต 1 สัปดาห์

ที่ CDC Dental ให้การรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า มีความชำนาญในการดูแลคนไข้นอนกัดฟัน

ขั้นตอนการทำเฝือกสบฟัน

  1. ตรวจประเมินโดยทันตแพทย์: ตรวจลักษณะการกัดฟัน อาการที่เกิดขึ้น และเลือกรูปแบบเฝือกที่เหมาะสม
  2. พิมพ์ปาก
  3. ส่งผลิต
  4. รับเฝือกกลับบ้าน: พร้อมคำแนะนำในการดูแลและการใช้งานอย่างถูกวิธี
  5. ติดตามผลการรักษา: ท่านที่ใส่เฝือกสบฟันชนิดแข็ง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมา follow-up กับคุณหมอเฉพาะทาง เนื่องจากพอใส่เครื่องมือไปสักพักจะพบว่าเครื่องมือเริ่มมีรอยสึก จำเป็นต้องได้รับการกรอแก้ไขให้จุดสบเสมอกัน เพื่อลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

ควรพบแพทย์เมื่อใด?


หากคุณมีอาการปวดกราม ปวดฟัน หรือสงสัยว่าตัวเองนอนกัดฟัน ควรเข้าพบ “ทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมบดเคี้ยวและความเจ็บปวดช่องปากใบหน้า” เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับคำแนะนำเกี่ยวกับเฝือกสบฟันเฉพาะบุคคล

ทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมบดเคี้ยว

สรุป


นอนกัดฟันไม่ใช่เรื่องเล็ก! หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อฟัน ข้อต่อขากรรไกร และคุณภาพชีวิตโดยรวม
CDC Dental มีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยว พร้อมให้คำแนะนำและดูแลด้วยเฝือกสบฟันคุณภาพสูง ทั้งแบบนิ่มและ ชนิดแข็ง ที่ผลิตเฉพาะบุคคล

ปรึกษานอนกัดฟัน ทักแชทได้ทุกช่องทาง


 

สาขาสะพานควาย


(ศูนย์ทันตกรรมจตุจักร)

BTS สะพานควาย, ใกล้ จตุจักร อารีย์ พหลโยธิน ประดิพัทธ์ สุทธิสาร ตลาดนัด อตก.

โทร 097-925-2424

Google Maps - ศูนย์ทันตกรรมจตุจักร

สาขาลาดพร้าว 109


(ปริญญาทันตคลินิก เดิม)

ใกล้ บางกะปิ ลาดพร้าว 109, ลาดพร้าว 107, ลาดพร้าว 101, RBAC, รามคำแหง

โทร 097-925-2442

Google Maps - สาขาลาดพร้าว 109

 

 

แหล่งที่มา


Minakuchi, Hajime et al. “Managements of sleep bruxism in adult: A systematic review.” The Japanese dental science review vol. 58 (2022): 124-136. doi:10.1016/j.jdsr.2022.02.004

ทพญ.ไอริณ ลักษมีกีรติกุล
บทความโดย

ทพญ.ไอริณ ลักษมีกีรติกุล (หมออาย)

ทันตกรรมบดเคี้ยว